หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
(Doctor of Philosophy Program in Educational Science and Learning Management)
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Educational Science and Learning Management
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ปร.ด. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Philosophy (Educational Science and Learning Management)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ph.D. (Educational Science and Learning Management)
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรน่าสนใจ มีความกว้างขวาง ลึกและครอบคลุมในศาสตร์ มีความทันสมัย มีคุณภาพ เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน มีความต่อเนื่องและมีการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นหลักสูตรที่จะช่วยยกระดับวิชาชีพทางการศึกษา ช่วยพัฒนางานในอาชีพให้ก้าวหน้า ยกระดับการศึกษาของผู้เข้าศึกษา ทำให้เกิดความลุ่มลึกในศาสตร์ทางการศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งใช้เวลาในการศึกษาน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งนิสิตทุกคนจะได้ไปศึกษาระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อพัฒนาหัวข้อวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ของตนเอง
อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ครู
2. ศึกษานิเทศก์
3. ผู้บริหารสถานศึกษา
4. ผู้บริหารการศึกษา
5. นักวิจัยการทางการศึกษา
6. นักวิชาการทางการศึกษา
7. ผู้นำชุมชน นักพัฒนาการทางการศึกษา
8. นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา
9. นักวัดผลและประเมินผลและนักวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา
10. นักพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและนักพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา
11. ผู้จัดโครงการส่งเสริม พัฒนาและบริการทางการศึกษา
12. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักฝึกอบรมบุคลากร
13. นักพัฒนาหลักสูตร
14. ผู้จัดการเรียนรู้ศูนย์เด็กปฐมวัย
15. ผู้ประกอบกิจการทางการศึกษา
16. อาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการเรียนรู้
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย เอกสารและตำราใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา รับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
ระบบการจัดการศึกษา
-ระบบ
ระบบการศึกษาเป็นแบบทวิภาค คือ ปีการศึกษาหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
-การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
อาจจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนเป็นพิเศษได้ โดยมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์(เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร)
การดำเนินการหลักสูตร
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน |
ภาคเรียน |
เดือนที่เริ่ม |
|
ถึงเดือน |
ภาคต้น |
สิงหาคม |
- |
ธันวาคม |
ภาคปลาย |
มกราคม |
- |
พฤษภาคม |
ภาคฤดูร้อน |
มิถุนายน |
- |
กรกฎาคม |
วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา
1. การศึกษาและการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา
2. การศึกษาปฐมวัย
แผนการศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 |
รหัสวิชา |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
|
หมวดวิชาแกน 6 หน่วยกิต |
|
วกจ 801 |
สัมมนาประเด็นปัญหาวิทยาการทางการศึกษา
และการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา
|
3(3-0-6) |
วกจ 801 |
สัมมนาปัญหาและการวิจัยทางการศึกษา
และการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา
|
3(3-0-6) |
รวมจำนวนหน่วยกิต |
6 |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 |
รหัสวิชา |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
วกจ...... |
.......................................(วิชาเอกบังคับ) |
3(3-0-6) |
วกจ...... |
.......................................(วิชาเอกเลือก) |
3(3-0-6) |
รวมจำนวนหน่วยกิต |
6 |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1-2 และ ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 |
รหัสวิชา |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
วกจ 921 |
ปริญญานิพนธ์ 1 |
12 |
วกจ 922 |
ปริญญานิพนธ์ 2 |
12 |
วกจ 923 |
ปริญญานิพนธ์ 2 |
12 |
รวมจำนวนหน่วยกิต |
36 |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับในระเบียบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548
1. สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่า
1.1. สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาหรือเทียบเท่า มีประสบการณ์ในการทำปริญญานิพนธ์หรือมีผลงานวิจัยทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือ
1.2. สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาหรือเทียบเท่า มีประสบการณ์ในการทำสารนิพนธ์หรือมีผลงานทำปริญญานิพนธ์ หรือมีผลงานวิจัยจากศึกษารายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิจัยในระดับปริญญาโทที่ต่อเนื่องกันไปในหัวข้อเดียวกันรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยผลงานวิจัยต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทั้งนี้ให้ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ในการวิจัยน้อย ซึ่งนิสิตจะต้องศึกษารายวิชาเกี่ยวกับการวิจัยตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร โดยไม่นับหน่วยกิต และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า 3.00
1.3 กรณีผู้ที่สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่า สาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปริญญาทางด้านการศึกษา จะต้อง
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการศึกษา หรือต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีเอกสารยืนยันมีผู้รับรองที่เป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ 7หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารงาน หัวหน้าหรือผู้บริหารโครงการที่ปฏิบัติประสบการณ์นั้นๆอย่างน้อย 2 คน
- มีผลงานวิจัยทางการศึกษา (100 %) โดยผลงานวิจัยต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
คุณสมบัติตามข้อ 1.3 ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางการศึกษา และจะต้องศึกษารายวิชาเกี่ยวกับการศึกษา ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควรเพิ่มเติมอีกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิตและต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
1.4 ในกรณีผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอกทางการศึกษาของสาขาวิชาอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมีความประสงค์จะโอนย้ายเข้ามาศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ต้องผ่านการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับรายวิชาทาง การศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50
- มีประสบการณ์ในการทำปริญญานิพนธ์หรือมีผลงานวิจัยทางการศึกษาในระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือมีผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หรือมีผลงานในการทำสารนิพนธ์หรือผลงานวิจัยทางการศึกษาจากศึกษารายวิชาต่างๆ ที่ต่อเนื่องกันรวมกันแล้วตั้งแต่ 6 หน่วยกิต ขึ้นไป หรือผลงานวิจัยทางการศึกษาอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับหรือ จากผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาอย่างน้อย 2 คน
- เป็นผู้แสดงความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
- ได้รับความเห็นชอบโดยมีมติเป็นเอกฉันท์จากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
2. มีความประพฤติดี
3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
และมีคุณสมบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิต
ติดตามรายละเอียดการรับสมัครได้ที่เว็บไซต์
http://admission.swu.ac.th
ติดต่อสอบถาม คณะศึกษาศาสตร์
โทร 02 649 5000 ต่อ 15598 และ 15597
http://edu.swu.ac.th