หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา จุดเด่นของหลักสูตร หลักสูตรสาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาเป็นความต้องการจําเป็นของบุคคลที่จะเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารการศึกษาทุกระดับและระบบ และเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน) ผู้ที่ต้องการปฏิบัติงานการบริหารและการจัดการในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอุดมศึกษา การอาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎี-บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา ระบุแขนงวิชาในวงเล็บต่อท้ายชื่อสาขาวิชาในใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ซึ่งมี 4 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาการบริหารการศึกษา แขนงวิชาการบริหารการอุดมศึกษา แขนงวิชาการบริหารการอาชีวศึกษา และแขนงวิชาการบริหารการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร รูปแบบของหลักสูตร ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการหลักสูตร วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา 1. แขนงวิชาการบริหารการศึกษา (Educational Administration) แผนการศึกษา คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ติดตามรายละเอียดการรับสมัครได้ที่เว็บไซต์ ติดต่อสอบถาม
(หลักสูตร พ.ศ. 2554)
ภาษาไทย: การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Education
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): กศ.ด. (สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Education (Educational Administration and Management)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ed.D. (Educational Administration and Management)
นอกจากนี้ การบริหารและการจัดการการศึกษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นสิ่งที่บุคคลสามารถเรียนรู้ และฝึกฝนได้ การที่บุคคลเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรนี้จะทําให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และหลักการสําคัญของการบริหารและการพัฒนาการจัดการศึกษา องค์ประกอบต่างๆ ของงานบริหารตลอดจนปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลและเกี่ยวข้องกับการจัดและดําเนินงานการศึกษาให้มีคุณภาพ หลักสูตรนี้จึงมีความสําคัญสําหรับผู้ที่จะเตรียมเป็นผู้บริหารตลอดจนผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการพัฒนาวิชาชีพต่อไป
2. ผู้บริหารสถาบันการศึกษาแต่ละระดับและระบบผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษาผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาและการฝึกอบรม ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาแต่ละระดับและระบบ
ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี แผน 1 และ แผน 2
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย เอกสารและตำราใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา รับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
-ระบบ
ระบบการศึกษาเป็นแบบทวิภาค คือ ปีการศึกษาหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
-การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
อาจจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนเป็นพิเศษได้ โดยมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์(เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร)
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคเรียน
เดือนที่เริ่ม
ถึงเดือน
ภาคต้น
สิงหาคม
-
ธันวาคม
ภาคปลาย
มกราคม
-
พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน
มิถุนายน
-
กรกฎาคม
2. แขนงวิชาการบริหารการอุดมศึกษา (Higher Education Administration)
3. แขนงวิชาการบริหารการอาชีวศึกษา (Vocational Education Administration)
4. แขนงวิชาการบริหารการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Lifelong Education Administration for Human Resource Development)
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา
หมวดวิชา
แบบ 1
แบบ 2
1. หมวดวิชาแกน
-
6
2. หมวดวิชาเอก
ไม่น้อยกว่า
-
6
3. ปริญญานิพนธ์
48
36
รวมหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า
48
48
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2554 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ และมีประสบการณ์ทางการศึกษา หรือประสบการณ์ทางการบริหารการศึกษา หรือประสบการณ์ด้านการนิเทศการศึกษา
หรือจบปริญญาโทในสาขาวิชาอื่นที่มีความสนใจเรียนด้านการบริหารและการจัดการการศึกษา
และมีคุณสมบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิต
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
อาจารย์ ดร.กัมปนาท บริบูรณ์
โทร. 02 649 5000 ต่อ 15574
www.edu.swu.ac.th