Skip to content

หน่วยงาน

ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา

ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา” เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นด้านการบริหาร การพัฒนาและการจัดการการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการสำคัญของการบริหารและการพัฒนาและการจัดการการศึกษา รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ของงานบริหาร การวิจัยทางการบริหารและการพัฒนาและการจัดการการศึกษาตลอดจนปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลและเกี่ยวข้องกับการจัดและดำเนินงานการศึกษาให้มีคุณภาพ หลักสูตรนี้จึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่จะเตรียมเป็นผู้บริหารตลอดจนผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการพัฒนาวิชาชีพต่อไป

ชื่อหลักสูตรปริญญาโทของภาควิชาฯ

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

(ภาษาไทย): หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

(ภาษาอังกฤษ): Master of Education (Educational Administration)

(ภาษาไทย): หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

(ภาษาอังกฤษ): Master of Education in Development and Management of Education

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบและสามารถทำงานกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

2. มีความสามารถสูงทั้งทางวิชาการและวิชาชีพการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและมีความสามารถในการสังเคราะห์วิเคราะห์บริบททางการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา

3. มีความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์วิชาชีพที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนางาน

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ผู้บริหารสถานศึกษา

2. ผู้บริหารการศึกษา

3. ศึกษานิเทศก์

4. นักวิชาการศึกษาในองค์กรด้านการศึกษา

5. คณาจารย์หรือผู้สอนในสถาบันศึกษาหรือหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานในการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

2. มีทักษะและมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่ม สร้างสรรค์ และประยุกต์ใช้ความรู้ ด้านการวิจัยในการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

3. มีทักษะในการใช้กลไกเพื่อพัฒนาการทำงานและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาและการจัดการการศึกษาและวิชาชีพ

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชการศึกษา

2. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษา

3. นักการศึกษาในหน่วยงานต่าง ๆ

4. นักวิจัย

ชื่อหลักสูตรปริญญาเอก

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

(ภาษาไทย): การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

(ภาษาอังกฤษ): Doctor of Education Program in Educational Administration

(ภาษาไทย): หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

(ภาษาอังกฤษ): Doctor of Education in Development and Management of Education

มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ทางวิชาการและวิชาชีพทางการบริหารการศึกษาสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ในบริบทเกี่ยวข้องและสามารถออกแบบการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างอิสระและลึกซึ้งในวิชาชีพ

2. มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีสามารถสื่อสารและนำวิชาการสร้างนวัตกรรมทางด้านการบริหารการศึกษา

3. มีภาวะผู้นำขั้นสูงทั้งวิชาการและปฏิบัติมีทักษะและสมรรถนะการบริหารการศึกษาระดับสูง มีความคิดสร้างสรรค์ทางการบริหารการศึกษา สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความรับผิดชอบทางศาสตร์บริหารการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสังคมและประเทศชาติ

 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ผู้บริหารสถานศึกษา

2. ผู้บริหารการศึกษา

3. ศึกษานิเทศก์

4. นักวิชาการศึกษาในองค์กรด้านการศึกษา

5. คณาจารย์หรือผู้สอนในสถาบันศึกษาหรือหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีความสามารถในประยุกต์ใช้ทักษะ ความสามารถตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

2. มีความสามารถในการทำวิจัยหรือพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ไปสู่ความเป็นเลิศในด้านการพัฒนาและการจัดการการศึกษาของประเทศ

3. เป็นผู้นำในด้านนโยบายและการพัฒนาการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาและการจัดการการศึกษาและนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชาการศึกษาระดับบริหารในสถาบันการศึกษาประเภทต่างๆ

2. อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารในสถาบันการศึกษาประเภทต่างๆ

3. นักวิจัยอาวุโส ด้านการพัฒนาและการจัดการการศึกษา

4. ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาและการจัดการการศึกษาในหน่วยงานราชการและในสถานประกอบการต่างๆ

5. ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเพื่อการพัฒนาและการจัดการการศึกษา


คณาจารย์ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา